ขั้นตอนการติดตั้งรั้วตาข่าย

สำหรับท่านใดที่ได้ทำการซื้อรั้วลวดตาข่ายมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรั้วตาข่ายแบบถักปม หรือรั้วตาข่ายถักปมล็อคแบบพิเศษ ก็ตาม รั้วตาข่ายนั้นมีอายุการใช้งานนานหลายสิบปี ดังนั้นในการติดตั้งอาจอาศัยมืออาชีพทำให้เลยก็ได้ แต่หากกลัวไม่ถูกใจก็สามารถลองทำเองได้ง่าย ๆ เริ่มด้วยงานรั้วที่ไม่ยาวมากนักก่อนถือเป็นการฝึกฝีมือก่อนจะตามมาด้วยงานที่ยากขึ้นตามลำดับ ต้องบอกไว้ก่อนว่าลวดตาข่ายแต่ละชนิดนั้นออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกง่ายดาย ทั้งยังมีความคงทนสวยงาม การติดตั้งรั้วตาข่ายนั้นเพียงคุณรู้ขั้นตอนและเคล็ดบางอย่างก็สามารถที่จะทำเองได้ ไม่ต้องรอช่างให้เสียเวลา อุปกรณ์ที่คุณควรมีไว้สำหรับงานติดตั้งรั้วตาข่ายก็จะประกอบไปด้วย เสายึดลวดตาข่าย อุปกรณ์สำหรับขุดหลุมฝังเสา อุปกรณ์ยึดล็อคเสา คีมหนีบ และคีมตัด ที่หมุนปลายลวดตาข่ายอุปกรณ์ตัวนี้ช่วยให้ปมตาข่ายที่คุณพันเองนั้นแน่นกระชับสวยงาม ปูนและทรายหากต้องการเทเสาให้แน่นหนายิ่งขึ้น อุปกรณ์เสริมอย่างอื่น เช่น รอกดึงลวด ที่ตอกเสา

วิธีการติดตั้งรั้วตาข่ายถักตามทั่วไป อันดับแรกเลยคือ การติตตั้งชุดรับแรง โดยการขุดหลุม ตั้งเสา ไม่ว่าจะเป็นเสาไม้ เสาปูน หรือเสาเหล็ก ในส่วนของเสาต้นแรก ต้นสุดท้าย ตัวเข้ามุม จำเป็นต้องขุดหลุมเทปูนให้แข็งแรงเนื่องจากเสาต้นแรก ต้นสุดท้าย หรือตัวเข้ามุม ที่เรียกกันว่าชุดรับแรง จำเป็นต้องมีความแข็งแรงเพื่อรับแรงดึงจากรั้วตาข่ายทั้งแนว (แนวตรง) หากเสารับแรงเหล่านี้ไม่แข็งแรงแล้ว การดึงตาข่ายให้ตึงก็ทำได้ยาก นอกจากนั้นแล้ว การตั้งเสารับแรงให้แข็งแรง มีส่วนทำให้ตาข่ายสามารถรับแรงกระแทกได้ดีมากขึ้น

ต่อมาคือการติดรั้วตาข่าย ตามปกติแล้วหากคลี่ตาข่ายออกจากม้วนจะมีปลายลวด (เส้นแนวนอน) ของตาข่ายเหลืออยู่ ให้ทำการใช้ปลายลวดพันอ้อมเสา แล้วกลับมาพันเส้นนั้น ๆ ให้ครบทุกเส้นกับเสาต้นแรก แล้วหลังจากนั้นคลี่ตาข่ายไปจนสุดแนวรั้ว (แนวตรง) แล้วตึงตาข่ายให้ตึงก่อนผูกกับเสาต้นสุดท้าย โดยอาจจะใช้เครื่องมือทุนแรงช่วยดึง เช่น รอกสลิงมือโยก หรือ รอกอื่น ๆ เพื่อให้ตาข่ายสวยงาม ตึงสวย และแข็งแรง แล้วผูกกับเสาต้นสุดท้ายให้ครบทุกเส้นเหมือนกับเสาต้นแรก

ต่อด้วยการใส่เสาย่อย หากเป็นเสาเหล็กทั่วไป สามารถสวมสามเกลอเกษตรเพื่อตอกเสารั้ว ให้ลงไปให้ลึกประมาณ 45-70 ซม. ความห่างของเสารั้ว แต่ละต้น ประมาณ 5-8 เมตร (*ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดิน) แต่หากเป็นเสาปูนทั่วไป ให้ใช้วิธีการขุดหลุมเทปูน ระยะห่างของเสาประมาณ 4-6 เมตร และควรมีชุดรับแรงทุกระยะ 50 เมตร สำหรับเสาปูน

ปิดด้วยการติดรั้วตาข่ายกับตัวเสา สำหรับเสา Y Post มีลอนตลอดแนวรั้วรับตาข่าย ลวดหนาม โดยใช้ลวดชุบซิงค์หนาผูกตาข่าย/ลวดหนามเข้ากับเสารั้ว ต้นอาจจะผูกประมาณ 3-5 จุด ขึ้นอยู่กับรุ่นของตาข่ายที่ใช้ส่วนถ้าเป็นเสาปูน เสาไม้ หรือ เสาเหล็กทั่วไป ลวดชุบซิงค์หนาผูกตาข่าย ลวดหนามกับเสา ให้แข็งแรง โดย 1 ต้นอาจจะผูกประมาณ 3-5 จุด ขึ้นอยู่กับรุ่นของตาข่ายที่ใช้

ไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่ไหม และสิ่งที่จะทำให้งานการติดตั้งรั้วตาข่ายนั้นง่ายดายขึ้นก็คือลวดตาข่ายของเราได้ทำออกมาด้วยประสิทธิภาพที่สูงดังนั้นในการดึงให้ตึงนั้นก็จะไม่ทำให้ปมลวดเลื่อน ในขณะที่คุณพยายามดึงให้ตึงก็จะทำได้สะดวกขึ้น การติดตั้งรั้วตาข่ายให้ตึงนั้นอย่าลืมสังเกตุลักษณะของเส้นลวดที่ดึงนั้นจะตึงขึ้น เมื่อเห็นแล้วว่าลวดทั้งเส้นมีความตึงพอ ๆ กันแล้วก็สามารถยึดกับเสาต้นใกล้ได้ทันทีเลย เท่านี้ทุกท่านก็จะได้รั้วตาข่ายติดตั้งเองง่ายๆ แล้ว