“ ลวดตาข่ายถัก ” นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ผู้คนมักนิยมนำมาติดตั้งให้เป็นรั้วบ้านรั้วสวน ในปัจจุบัน นั่นอาจเป็นเพราะด้วยเทคโนโลยีการผลิตลวดตาข่ายถัก จึงทำให้ได้ลวดตาข่ายที่มีคุณภาพ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน อีกทั้งหลากหลายแบบหลากหลายดีไซน์ให้เลือก เพื่อสามารถตอบโจทย์กับการใช้งานสำหรับยุคนี้ได้อย่างดี แต่นอกจากนี้ “ ลวดตาข่ายถัก ” ยังสามารถใช้ในการล้อมรั้วบ้าน สวน ที่ดิน คอกสัตว์ และยังนำมาประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเช่นประตูรั้วสวนได้ดีอีกด้วย
ซึ่ง “ ลวดตาข่ายถัก ” เป็นลวดตาข่ายที่เกิดจากการผลิต ด้วยลวดชุบกับสังกะสีเพื่อป้องกันการขึ้นสนิม แล้วจึงนำมาขึ้นรูปด้วยเครื่องจักร ให้มีลักษณะเป็นตาข่ายถักคล้ายกับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนร้อยเป็นเกลียวต่อ ๆกัน ทำให้มีความเหมาะอย่างยิ่ง สำหรับพื้นที่ที่ต้องการกั้นเป็นสัดส่วน มีความโปร่งตา และไม่จำเป็นใช้ประมาณที่งบจำกัด ในขณะเดียวกัน สามารถตอบโจทย์ในเรื่องของความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานด้วย ซึ่งวิธีการประยุกต์ใช้ลวดตาข่ายถัก สำหรับล้อมบ้านและสวน สามารถทำได้ง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอน ดังนี้
- ทำเครื่องหมายระบุขอบเขตรั้ว :
เริ่มแรก ควรระบุขอบเขตของการสร้างรั้วที่ต้องการจากการวัดขนาดความ ยาวโดยรวม ทำเครื่องหมายเพื่อกำหนดตั้งเสาหลัก แล้วจึงกางตาข่าย โดยคำนึงถึงพื้นที่ขนาดใกล้เคียงที่ ต้องการ เอาไว้ ซึ่งหากจะติดตั้งรั้วชิดริมขอบเขตพื้นที่บ้าน ควรจะเว้นพื้นที่ เข้ามาประมาณ 4 นิ้ว เพื่อป้องกันการที่ฐานคอนกรีตไปรุกล้ำบริเวณภายนอก
- ติดตั้งเสาหลัก – ติดตั้งเสารั้ว :
ขั้นตอนต่อมา คือ การติดตั้งเสาหลัก ซึ่งการติดตั้งเสาหลักให้มีความ เหมาะสมต่อขนาดพื้นที่ที่ ใช้งานได้อย่างถูกต้องนั้น ควรผ่านหลักการคำนวณ ดังนี้
- คำนวณความยาวของเสาบริเวณเหนือพื้น = ความกว้างของหน้าตาข่าย + 2 นิ้ว ( 5.1 cm. )
- คำนวณความยาวของเสาบริเวณใต้ดิน = ความสูงเสาเหนือพื้นดิน × 1/3
- ความยาวของเสา = ความยาวของเสาบริเวณเหนือพื้น + ความยาวของเสาบริเวณใต้ดิน
จากนั้น จึงสามารถขุดหลุมและลงเสาหลักได้ ส่วนการคำนวณเสารั้ว จะมี ขั้นตอน และวิธีการคล้ายเคียงกับเสาหลัก เพียงแต่ผู้ใช้งานควรจะให้ความยาวของเสาเหนือ พื้นดินของเสารั้ว น้อยกว่าเสาหลัก ประมาณ 2 นิ้ว สำหรับการใส่บาร์ด้านบน
- ติดตั้งตาข่าย กับ เสาหลัก :
นับเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนที่เสารั้วตาข่ายจะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจำเป็นต้องเริ่ม จากการติดตั้งหัวเสาและราวเหล็กด้านบนเพื่อเป็นดั่งคานในการยึดเกาะไว้ จากนั้น จึงจะ สามารถเริ่ม ขึงตาข่ายกับเสา
โดยใช้วิธีการนำตาข่ายยึดติดตั้งให้แน่นกับแท่งเหล็ก ซึ่งจะใช้น็อตเป็นตัวยึด ให้แน่น จากข้างหนึ่งของเสา ไปสู่อีกข้างหนึ่งได้
หรือ อีกวิธีการหนึ่ง คือ ใช้การเชื่อมเพื่อยึดระหว่างเสาถึงเสาแทน หากแต่วิธีการนี้มี ความจำเป็นที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือช่างมาติดตั้ง และ สำหรับบางการติดตั้ง สามารถใช้ ลวดเพื่อรับแรงดึงในแนวขวาง ที่อาจทำให้ตาข่ายเขย่าได้
สำหรับ การนำ “ ลวดตาข่ายถัก ” มาประยุกต์ใช้ทำเป็นประตูรั้วสวน นับเป็นอีกหนึ่งไอเดียในการทำประตูรั้วแบบประหยัดงบ แต่มีประสิทธิภาพความคงทนแข็งแรงเต็มเปี่ยม เลื่อนง่าย ไม่หนักเกินไป ดูสวยงามกลมกลืน อากาศไหลเวียนถ่ายเทได้ดี และแถมด้วยการติดตั้งที่ง่ายมาก ๆ อีกด้วย